Top U Jump Start: เอาชนะคะแนนสอบ GMAT 700+ By P'Ou and P'Paint

สำหรับน้องๆที่ยังไม่ได้ฟังหรือไม่มีเวลาฟังคลิปครูพี่อู๋และพี่เพ้นแนะนำทริคเอาชนะคะแนนสอบ GMAT 700 + วันนี้พี่ๆสรุปเนื้อหาหลักที่ทั้งพี่อู๋และพี่เพ้นท์ได้พูดถึงในไลฟ์ต้องบอกเลยว่าเทคนิคหรือข้อมูลที่พี่อู๋, และพี่เพ้นท์มาแบ่งปันนั้น based มาจากเรื่องจริงที่พี่ๆทั้งสองทำจริงๆแล้วได้ผลตอบลัพท์ที่ดีขึ้นเพราะฉะนั้นไม่ควรพลาด 

Q1: GMAT คืออะไร, แตกต่างจากข้อสอบแบบอื่นยังไง

 

P’Ou: GMAT ก็คือ Standardized test ที่ใช้วัด Logic เป็นหลักมากกว่า Grammar ชนิดหนึ่งซึ่งจะมี 4 ส่วนหลักๆคือ 

  1. AWA Essay
  2. IR; Integrate Reasoning
  3. Quantitative เต็ม 31 ข้อ 60 นาที
  4. Verbal 36 ข้อ 65 นาที

       จาก Statistics, GMAT in January, 2018 – December, 2020 มีคนสอบประมาณ 555,000 คน มีเพียง 12% หรือประมาณ 60,000 คนที่ได้ score 700 up. 590 – 600 คะแนนคือปานกลางหรือประมาณ 72 Percentile. คะแนน 700 – 760 คือ 88 Percentile, และคะแนน 760 up คือ 99 Percentile.

ข้อสอบ GMAT ไม่ได้วัดว่าไครเป็น The Best ในการทำโจทย์, แต่เค้าวัด The Best in 60 minutes เพราะฉะนั้นเราต้องเลือกข้อที่จะผิดและข้อที่จะถูกให้ถูกหรีอต้อง Weight ข้อยากง่ายให้เป็น “  

 

Q2: GMAT จำเป็นต้องทำถูกทุกข้อไหมและ Mindset ที่ถูกต้อในการทำข้อสอบ ?

P’ Ou: ไม่จำเป็นต้องพยายามทำให้ถูกทุกข้อ, ใน GMAT, ถ้าเราอยากได้ 700+ เราผิดได้ถึง 1 ใน 3 ของข้อสอบทั้งหมดหรือก็คือ 12 ข้อจาก 36 ข้อเพราะฉะนั้นเราควรพยายามผิดข้อยาก, และพยายามทำข้อง่าย + ข้อปานกลาง. GMAT อย่างที่บอกเป็น CAT ( Computerized Adaptive Test) หรือก็คือเมื่อไหร่ที่ทำถูก, ข้อต่อไปจะปรับระดับให้ยากขึ้น ถ้าถามว่าจะยากไปถึงระดับไหน ก็ตอบได้เลยว่ามันก็จะยากไปจนถึงขั้นที่น้องทำผิดนั่นแหละ. ในข้อสอบ 36 ข้อมีเวลา 65 minutes หารแล้วตกประมาณ 1.5 minutes และหลายๆคนมักจะโฟกัสแต่ละข้อเกินเวลาและไม่ได้เลือกข้อที่จะข้ามทำให้หมดเวลาก่อนทำข้อง่ายๆข้างหลังเพราะฉะนั้น “ ถ้าจะผิด ผิดให้เร็ว

 

ส่วนเรื่อง Mindset, อยากจะแนะนำ 2 ประเด็นหลักๆคือ 1) ต้องรู้จุดแข็งจุดอ่อน, เช่นน้องๆบางคนอาจจะรู้และว่าตัวเองเก่งเรื่องการหา Finding Discrepancy และ Critical Reasoning, น้องๆก็อาจจะ Weight Focus มาทำข้อพวกนี้มากกว่าข้อชนิดอื่น หรือรู้และว่าตัวเองอ่อนเรื่อง Reading Comprehension ก็ควรอ่านแต่ไม่ควรตั้งความหวังกับมันมากให้ไปโฟกัสข้อที่เป็นจุดแข็งแทน.

2) ต้อง Strict กับเวลาที่ใช้ต่อข้อ หรือก็คือประมาณ 1:50 นาที, หากข้อไหนรู้แล้วว่าไม่แข็ง หรือทำไม่ค่อยได้ให้เดาเลยและเอาเวลาที่เหลือสัก 30-40 วิไปโฟกัสข้อที่แข็งเพราะมีโอกาสทำถูกมากกว่า.  

 

P’ Paint: ส่วนของพี่ Real Case เลยก็คือพี่จะรู้ตัวเองว่าจุดแข็งพี่คือ Sentence Correction เพราะมีประสปการณ์ในการสอบ IELTS ซึ่งต้องอ่าน Passage ยาวๆเหมือนกันเลยจะมีความคุ้นชินกับ Grammar ส่วนที่พี่อาจจะอ่อนและ Weight Focus น้อยหน่อยก็คือ Critical Reasoning เพราะจะชอบเจอคำศัพท์ที่ค่อนข้าง Specific เช่นศัพท์ Medical, หรือ Science มากๆที่อ่านรอบนึงแล้วก็ยังไม่เข้าใจก็จะให้เวลากับมันน้อยหน่อยไป Focus ข้อที่แข็งดีกว่า

 

Q3: Reading Comprehension มี Tricks และ Mindset อย่างไรบ้าง ?

P’ Ou: อย่างแรกเลยน้องต้องอ่านภาษาอังกฤษให้เข้าใจหรือ Fundamental ถาษาอังกฤษน้องต้องมีความแข็งในระดับนึง ถ้าอยากรู้ว่าตัวเองเข้าใจภาษาอังกฤษมากพอมั้ยให้ลองอ่านโพสหรือกระทู้ของ The Economist แล้วถ้าเข้าใจบทความน้อยกว่า 80% แปลว่าน้องต้องปรับพื้นฐานทางภาษาก่อน. 

 

และอีกทริคที่จะทำให้พาร์ท Reading Comprehension ง่ายขึ้นก็คือน้องต้องปลูกฝังนิสัยในการรักการอ่าน, เพราะว่าส่วนใหญ่หากน้องๆไม่ได้เตรียมตัวแล้วเห็น Reading Passage ยาวๆจะตกใจ. และถ้าหากน้องอ่านคล่องๆแล้วสังเกตุจากที่ว่าหากน้องๆอ่าน Passage ไปแล้วพอจะเดาได้ว่าคนเขียนจะเขียนเกี่ยวกับอะไรต่ออันนี้คือเป็นสัญญาณที่ดี.

 

ในส่วนข้องข้อสอบพาร์ท Reading Comprehension, จะแบ่งเป็น 4 long passages, และ 2 short passages, สิ่งแรกที่น้องๆควรทำให้ได้เลยคือรู้เจตนาของคนเขียนว่าเค้าตั้งใจจะ Criticize หรือ Support, ต้องมีสติและมีจินตนาการในระดับนึง. สามารถทดสอบความเข้าใจคร่าวๆได้โดยการอ่าน Practice passage แล้วปิดหนังสือไแทำอย่างอื่นแล้วตอนกลับมาต้องเขียนสรุปบทความให้ได้ภายใน 1 บรรทัด, ต้องรู้ Main Idea, และ Primary aspect ของบทความต้องสามารถสรุปได้รู้ Infer และ Specific Details ที่จำเป็นต่อคำตอบ.

 

P’Paint: เบื้องต้นพี่เป็นคนสอนวิชา IELTS เลยสามารถ Relate Reading Comprehension กับ IELTS Reading part ได้. สิ่งแรกที่สัมผัสได้เลยคือ GMAT มี Vocabulary ที่ยากและ Specifics กว่า IELTS ที่ค่อนข้างจะ Straight Forward. Essay IELTS จะมีความยาวมากกว่าแต่ไม่ Complex เท่าของ GMAT เช่นโจทย์ IELTS อาจจะถามว่า ชอบเพื่อนคนนี้เพราะอะไร เราก็อาจจะตอบว่าเพราะมีความเห็นอกเห็นใจ, ใจกว้าง และนั่นคือ Main Idea ส่วน GMAT มักจะถามจ่อว่า เห็นอกเห็นใจยังไงขอ Details เพิ่ม. มีทริคคือเวลาฝึกทำโจทย์แล้วเจอคำศัพท์ยากหรือ Specifics ให้ search หาความรู้เลยทันที หากทำบ่อยๆแล้วคลัง Vocabulary ในหัวจะเพิ่มขึ้นและทำให้ทำข้อสอบได้ง่ายขึ้นเช่นกัน.

 

Q4: พาร์ท Critical Reasoning มีทริคอย่างไรบ้างและควรอ่านคำตอบหรือคพถามก่อน ?

 

P’Ou: Critical Reasoning จะมาใน Format Reading และจะให้คำตอบมา 5 ข้อ, จะมีข้อผิด 3 ข้อถูก 2 ข้อ. โดยรวมเลยข้อที่ผิดมักจะมีความ Irrelevant, และ Extreme เกิน. ส่วนรูปแบบของคำถามหลักๆดลยมี 3 แบบและเพิ่มอีก 3 แบบย่อยเป็น 6 รูปแบบ. 1) Strengthening, 2) Weakening, และ 3) Assumption ส่วนอีก 3 แบบที่มีสิทธิ์เจอคือ 4) Influence, 5) Finding Discrepancy, และ 6) Evaluate

 

ส่วนตัวพี่เลยก็เคยฝึกแบบผิดๆ เช่นฝึกทำโจทย์วันละ 20-30 ข้อหรือเน้นปริมาณโจทย์เป็นหลักผลคือคะแนนไม่ได้ดีขึ้นเยอะ เลยลองเปลี่ยนวิธีฝึกเป็นจาก 20-30 ข้อต่อวันเปลี่ยนเป็น 5-10 ข้อแล้วมานั่ง Revise ทั้งข้อที่ถูกและผิดว่าข้อที่ถูกถูกยังไง และข้อที่ผิดทำยังไงหาเหตุผลว่าทำไมข้อนั้นๆถึงถูกหรือผิดให้ได้ เหตุผลเดียวที่จะไม่ Revise ข้อถูกคือสามารถตัด 4 ข้อผิดแล้วเหลือข้อถูกเพียงข้อเดียวได้แล้ว. 

 

ส่วนคำถามที่ว่า Critical Reasoning ควรอ่านคำถามหรือคำตอบก่อน จริงๆแต่ละที่จะสอนไม่เหมือนกันเลย ที่ Bible Score สอนให้อ่าน Arguments ก่อนค่อยอ่าน Questions, ที่ Manhattan Prep สอนให้อ่าน Questions ก่อนค่อยไปอ่าน Argument, พี่อยากจะบอกว่าเอาที่น้องถนัดเลย เพราะส่วนตัวพี่พี่ก็ทำแบบ Manhattan Prep คืออ่าน Question ก่อน Argrument. 

 

Q5: พาร์ท Sentence Correction มีทริคอย่างไรบ้าง ?

 

P’Ou: Format ของพาร์ท SC จะให้ Passage มาแล้วขีดเส้นใต้ 1 ประโยคแล้วจะถามว่า Choice ไหน Match the underlined sentence มีทั้งหมด14 จาก 36 ข้อประมาณ 40%. ความยากของพาร์ทนี้จะยากเพราะคำว่า TIYE หรือ Trust In Your Ears หมายถีงเราอาจจะรู้สึกว่าคำตอบข้อนี้ไช่ที่สุดเพราะมันดูเพราะและเข้ากับประโยคที่สุด ให้เราพยายามหลีกเลี่ยงการ TIYE ให้มาดูหลักแกรมม่าด้วยเช่นพวกเรื่อง Sentence structure (S + V), หรือ Agreement (S + V ต้องฟิต) และก็พวก Modifier ต่างๆ. เรื่อง Modifier และตำแหน่งของมันต้องมีความแม่นยำ เรื่อง Pronoun, แต่ละตัวต้องมีตัวลง เรื่อง Comparison, Idiom และ Parallelism markers ต่างๆ แต่ละข้อจะมี 2-3 splits หรือ 2-3 จุดที่แตกต่างกัน น้องต้องสามารถรู้ไห้ได้ว่าควรตัดข้ออะไรที่ไม่เกี่ยวออก, ต้องเริ่มตัดจากจุดที่มั่นใจที่สุดก่อน

 

P’Paint: เรื่องของFundamental ของ SC เรื่องที่ต้องรู้แน่ๆคือ Sentence Structure, ต้องรู้ Subject, Verb, Modifier หากจับตรงนี้ได้จะช่วยตัดช้อยได้ในหลายๆข้อ ฝึกทำข้อสอบบ่อยๆจะทำให้เราคุ้นชินแนวโจทย์ในอนาคตได้ 

 

ถ้าเป็น IELTS ที่เทส Grammar จะอยู่ในพาร์ท Academic writing, ไม่ได้อยู่ในพาร์ทอื่นๆมากนัก. พอมาใน GMAT ถ้าหากฝึก Writing ใน IELTS มาเยอะแล้วมีพื้นฐานแกรมม่าแน่นพอสมควรก็จะช่วยให้อ่านโจทย์แล้วเข้าใจได้ง่ายขึ้น. Grammar แน่นอย่างเดียวช่วยระดับนึง ที่เหลือคือ Reasoning ว่าน้องๆรู้มั้ยทำไมคำนี้ถึงต้องอยู่ตรงนี้ บางโจทย์มีคำตอบถูกแกรมม่าเยอะ แต่ Modifiers ไม่ถูกต้อง. Free resource ที่ดีที่สุดคือ Resource ของ Manhattan Prep จะมี blog ให้ฟรีเค้าจะมีสรุปให้ว่าโจทย์แนวนี้น้องควร Equip Mindset ด้านใด และก็จะมี Free resource ใน Youtube (Free GMAT Prep Hour) เค้าจะสอนฟรีทุก 2 อาทิตย์ Cover ทุก Topic ใน GMAT ทั้ง Verbal and Quant. อีกอันที่เยอะแต่ไม่แนะนำคือ GMAT Club, เป็นเหมือน Pantip คือมี Opinion เยอะมากทำให้ไม่รู้ว่าต้องตามกูรูคนไหน อ่านพวก Strategy และ Explaination ได้แต่พยายามอย่าไปดูคำตอบเยอะ E-Gmat, GMAT ninja, and Manhattan Prep เป็น 3 แหล่งที่แนะนำให้ไปศึกษาข้อมูล.

 


รับเคล็ดลับเรียนต่อฟรี ส่งถึงมือทุกสัปดาห์ 

น้องๆที่จะสมัคร ไปเรียนต่อ MBA หรือ Master’s Degree สายอื่น อย่าพลาด
ปรึกษาฟรี!!!! คลิกเลย FREE CONSULTATION
ฟังเรื่องราวความสำเร็จของนักเรียน MTU คลิกเลย

บทความที่เกี่ยวข้อง

EP38: ทำ Linkedln ให้โดดเด่นเพื่อสมัคร MBA

Admissions มักจะเช็ค LinkedIn ของผู้สมัครเสมอ แชร์ทิป 7 ข้อเพื่อทำ LinkedIn ให้ประทับใจคณะกรรมการคัดเลือกนักเรียน ครูพี่เจส ภัคศิกร ทับทิมทอง อดีต Admissions Committee ที่ Kellogg, Northwestern University และเป็นผู้บริหารบริษัท Mission To Top U TopU

Read More »

TopUTalk EP.42 กลยุทธ์เขียน Essay l MBA LBS

ใครที่อยากเข้า London Business School ไม่อยากให้พลาด วิเคราะห์ เจาะลึก เขียน Essay ยังไงให้โดนใจ Admissions Committee และอะไรที่เราไม่ควรเขียนใน Essay มาฟังใน Podcast นี้กันค่ะ ครูพี่เจส ภัคศิกร ทับทิมทอง อดีต Admissions Committee ที่ Kellogg,

Read More »

EP111: Q&A ตอบคำถามวันที่ 26 พ.ค.2563

ตอบคำถามน้องๆที่ถามกันเข้ามา ประจำวันที่ 26 พฤษภาคม 2563 ครูพี่เจส ภัคศิกร ทับทิมทอง อดีต Admissions Committee ที่ Kellogg, Northwestern University และเป็นผู้บริหารบริษัท Mission To Top U TopU Talk The Podcast ·

Read More »
Scroll to Top