GMAT (Graduate Management Admission Test) คือข้อสอบวัดระดับความสามารถในการเป็น ‘Future Leader’ เพราะ GMAT ไม่ได้วัดเพียงแค่ความรู้เท่านั้น แต่ยังมีทักษะต่างๆ ที่ถูกทดสอบในระยะเวลาที่กำหนดภายใต้ความกดดันอีกด้วย ซึ่งคะแนน GMAT นั้นสามารถนำไปยื่นสมัคร ป.โท สาขาบริหารธุรกิจได้ทั้งมหาลัยในไทยและต่างประเทศ
สิ่งที่ควรรู้ก่อนสอบ GMAT
- ข้อสอบ GMAT จะถูกแบ่งออกเป็น 2 พาร์ทหลักๆ ด้วยกัน ประกอบไปด้วย Quantitative Reasoning (31 คำถาม 62 นาที) และ Verbal Reasoning (36 คำถาม 65 นาที)
- ถ้าตอบผิดหลายข้อติดต่อกันหรือไม่สามารถทำข้อสอบเสร็จทันเวลา จะถูกหักคะแนนเพิ่ม
- ข้อสอบ GMAT เป็น ‘Adaptive Test‘ หมายความว่าคะแนนที่เราได้จะเหวี่ยงตามจำนวนระดับความยาก-ง่ายของข้อสอบ ซึ่งสามารถฝึกวิธีดูความยาก-ง่ายของข้อสอบได้จาก GMAT Official Guide เพราะคำถามจะเรียงตามระดับความยาก หรือ Question Bank ใน MBA.com เพราะโจทย์จะระบุไว้ว่าข้อไหนยากหรือง่าย
ข้อสอบ GMAT ทดสอบอะไรเราบ้าง?
- การวางแผนต่างๆ ก่อนเข้าห้องสอบ GMAT เช่น การทำ Study Plan ที่ชัดเจน
- ความสามารถในการจัดลำดับความสำคัญ
- ความมั่นใจในการทำข้อสอบ
- การรู้จักข้อได้เปรียบและข้อด้อยของตนเอง
- ความสามารถในการจัดการเวลา
- ความสามารถในการจัดการตนเองภายใต้แรงกดดัน
- ความยืดหยุ่น
ทำไมการสอบ GMAT ถึงยาก?
- ต้องทำข้อสอบในเวลาที่จำกัด แต่ในขณะเดียวกันก็ต้องใส่ใจในรายละเอียดของโจทย์ GMAT แต่ละข้อ
- Mindset ในการทำข้อสอบที่เปลี่ยนไปจากการหาข้อถูก เป็นการตัดข้อที่ผิด
- การเน้นทำโจทย์ไม่ได้ผลเสมอไป ต้องไปหาวิธีทำที่ถูกตองสำหรับโจทย์ข้อนั้น หรือพูดง่ายๆ ว่าเน้นคุณภาพมากกว่าปริมาณ
4 เคล็ดลับในการทำให้คะแนน GMAT ดีขึ้น
- ทำให้พื้นฐานแน่น : คำถามใน GMAT จะทดสอบใน Sub-concepts ที่แตกต่างกัน เพราะฉะนั้นการที่จะทำข้อสอบ GMAT ให้ได้คะแนนมากขึ้น ก็จะต้องเข้าใจใน Sub-concepts ที่ยิบย่ิอยก่อน
- ต้องตัด Choice ให้ได้ : หลังจากเข้าใจในพื้นฐานทั้งหมดแล้ว ตัวเลือกในแต่ละคำถามจะมีตัวหลอกหรือข้อที่สามารถตัดออกได้ทันที ซึ่งตัวเลือกที่เหลือหลังจากการตัดข้อที่ผิดได้ทั้งหมด จะทำใหเราสามารถตอบข้อที่ถูกต้องได้ทันที
- อย่าทำข้อสอบเกินระยะเวลาที่กำหนดในแต่ละข้อ : ข้อสอบ Verbal Reasoning จะมีทั้งหมด 36 คำถาม 65 นาที ซึ่งจะตกข้อละ 1 นาที 48 วินาที แต่ในความเป็นจริงระยะเวลาที่ใช้ทำในแต่ละพาร์ทย่อยจะใช้เวลาไม่เท่ากัน พอแบ่งออกมาแล้วจะได้ Critical Reasoning 1.50 นาที, Reading Comprehension 1.50 นาที, และ Sentence Correction 1.20 นาที
- ทำซ้ำ : หลักจากข้าใจขั้นตอนทุกข้อแล้ว ให้ทำวิธีการนี้ซ้ำไปเรื่อยๆ ในระหว่างการฝึกทำข้อสอบ GMAT
เทคนิคการบริหารจัดการเวลาที่ดีในการทำ GMAT
การบริหารเวลา GMAT ในพาร์ทของ Verbal Reasoning ถือว่าเป็นส่วนที่บริหารจัดการเวลาได้ง่ายที่สุด เมื่อเขาไปในห้องสอบ ให้เขียนจุด Check Points ทุกๆ 9 ข้อลงไปในกระดาษทด แล้วให้เทียบบัญญัติไตรยางค์เลยว่าเหลือจำนวนข้อเท่านี้ ควรเหลือเวลาเท่าไหร่เช่น ข้อที่ 1 ควรเหลือ 65 นาที ผ่านไปถึงข้อที่ 9 ควรเหลือ 48 นาที แล้วทำแบบนี้ไปเรื่อยๆ จนถึงข้อที่ 36 ซึ่งในการทำ GMAT แต่ละข้อควรแบ่งเวลาให้เหมาะสมกับลัษณะข้อนั้นๆ เพื่อที่จะเพิ่มโอกาสในการทำข้อนั้นๆ ให้ถูก
เมื่อรู้ตัวว่าเราทำข้อสอบช้ากว่า Check Points ที่เขียนเอาไว้ ให้รีบไปเลือกเดาข้อที่เป็นจุดอ่อนของเราแล้วไปต่อเพื่อที่ะดึงเวลากลับมา และที่สำคัญเพื่อหลีกเลี่ยงการหักคะแนนจากการทำผิดหลายข้อติดต่อกันหรือไม่สามารถทำข้อสอบได้ทันเวลา
เจาะลึกเทคนิคการทำ GMAT พาร์ท Verbal
- Reading Comprehension : พาร์ทนี้จะมีประมาณ 14 ข้อ โครงสร้างคำถามจะประกอบไปด้วย 3 บทความสั้นและ 1 บทความยาว ซึ่งลักษณะคำถามในพาร์ทนี้สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทคือ คำถามเกี่ยวกับ Main Idea และคำถาม Specific คำถามที่เกี่ยวกับ Main Idea จะเกี่ยวกับจุดประสงค์หลักของบทความ ซึ่งวิธีการทำคือให้อ่านเรื่องทั้งหมดแล้วพยายามที่จะเข้าใจเรื่องอย่างคร่าวๆ (อย่ากลับไปอ่านอีก) แล้วให้เลือกคำตอบที่สรุปใจความสำคัญขอทั้งบทความ ลักษณะตัวเลือกที่เราสามารถตัดออกได้ทันทีคือข้อที่เป็นแค่ส่วนหนึ่งของบทความ ข้อที่ไม่เกี่ยวข้องเลย หรือข้อที่สุดโต่งจนเกินไป แต่เมื่อเราเจอคำถาม Specific จะเป็นคำถามอื่นๆ ซึ่งสามารถดูได้จากคำว่า According to passage, Infer, Suggest, หรือ Author’s point เป็นต้น วิธีการทำที่ง่ายที่สุดคือการหา Keyword แล้วกลับไปหาในบทความ และพยายามตัดข้อผิดให้ได้
- Sentence Correction : GMAT จะออกข้อสอบหลักๆ จาก 9 Concepts คือ Parallelism, Modifiers, Comparisons, Sentence Structure, Meaning, Subject/Verb Agreement, Idioms, Pronouns, และ Tense เพราะฉะนั้นถ้าอยากเพิ่มคะแนน GMAT ให้ได้สูงๆ เราควรที่จะแม่น 9 Concepts ที่ออกสอบซึ่งในแต่ละคำถามเราควรที่จะบอกให้ได้ว่าเขากำลังทดสอบอะไรเราอยู่จะทำให้เราจัดการคำถามนั้นได้ง่ายขึ้น
- Critical Reasoning : พาร์ทนี้จะมี Concepts ทั้งหมด 9 ข้อ แต่ควรที่จะแม่นเพียงแค่ 6 Concepts เท่านั้น ซึ่งประกอบไปด้วย Strengthening the argument, Weakening the argument, Find the assumption, Explaining the discrepancy, Evaluate the argument, และ Inference โครงสร้างของ Passage ในพาร์ทนี้จะมีเพียงแค่ 3 ประโยค แต่ควรอ่านประโยคเหล่านี้ด้วยความละเอียด เพื่อที่จะเข้าใจว่า Argument นี้คนเขียนต้องการจะสื่ออะไร แล้วจะทำให้ตัด Choice ได้ง่ายขึ้น ซึ่งประเภทของ Argument ที่สามารถพบเจอได้บ่อยๆ คือ Causality, Plan, Benefit-Cost Analysis, และ Percentage & Numbers
วางแผนทำข้อสอบ GMAT อย่างไรให้ได้ 700+
- เน้น Verbal Reasoning มากกว่า Quantitative Reasoning เพราะถ้าเก่งเลขเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว ให้เอาเวลาไปฝึก Verbal เพื่อเพิ่มโอกาสในการเพิ่มคะแนนมากกว่า
- กลับไปอ่านพื้นฐานเรื่อยๆ
- ถ้าทำข้อสอบผิด 1/3 หรือ 1/4 ก็ยังได้คะแนน Verbal 40 คะแนน (ข้อสอบสาารถทำผิดได้ แต่ต้องเลือกไปผิดข้อยาก ไม่ใช่ข้อง่าย)
การเดาคำตอบเป็นเรื่องธรรมชาติของการสอบ GMAT
- เมื่อไม่สามารถตัด Choices ออกได้ทั้งหมดและใกล้จะเลย Time Limit ในแต่ละข้อให้เดาไปเลย เพื่อที่จะได้เอาเวลาที่เหลือไปตั้งใจทำข้อต่อไป
- กรณีที่ทำข้อสอบช้ากว่าเวลาที่กำหนดไว้ 2-4 นาทีแล้ว ให้เดาบางข้อเพื่อที่จะดึงเวลากลับคืนมา ซึ่งแนะนำให้เดา Critical Reasoning เพราะใช้เวลาตกข้อละ 1.50 นาที ซึ่งใช้เวลานานที่สุด หรือ Reading Comprehension เพราะต้องไปเสียเวลาอ่าเนื้อเรื่อง 3-4 นาที
เทคนิคฝึกทำข้อสอบ GMAT
- Targeted Practice : การฝึกแบบ Targeted Practice เหมาะมากๆ สำหรับคนที่มี GMAT Official Guide ซึ่งจะเป็นการฝึกแบบกำหนดหัวข้อที่ชัดเจนว่าเราอยากพัฒนาใน Concept อะไรเช่น Parallelism เราก็ไปทำความเข้าใจพื้นฐานของมันและฝึกทำโจทย์นั้นๆ การทำเช่นนี้จะทำให้เราแม่น Concepts มากขึ้น
- Hybrid : เมื่อเราแม่น Concepts แล้ว แต่ไม่มีเวลาทำ Mock Exam เราสามารถแบ่งคำถามเป็นเซตๆ มาฝึกเองได้ ยกตัวอย่างเช่น เซตละ 9 คำถาม 16 นาที ประกอบไปด้วย 1 Reading Comprehension, 2 Critical Reasoning, และ 3 Sentence Correction การทำเช่นนี้จะฝึกให้เราบริหารจัดการเวลาอีกด้วย
- Mock Exam : วิธีการทำ Mock Exam ควรลองทำในช่วงแรกๆ เพื่อที่จะได้รู้ว่าจุดเริ่มต้นเราอยู่ตรงไหนหรือเรายังอ่อนเรื่องอะไร เพื่อที่จะหาจุดอ่อนของเราเพื่อนำไปพัฒนาต่อให้กลายเป็นจุดแข็งของเรา หลังจากนั้นให้ฝึกทำเป็น Targeted Practice หรือ Hybrid แล้วในช่วงสุดท้ายก่อนสอบให้ฝึกทำ Mock Exam อีกครั้งเพื่อที่จะสร้างความคุ้นเคยกับข้อสอบ GMAT และฝึกบริหารเวลากับข้อสอบจริง
สำหรับน้องๆ ที่อยากเก็บพื้นฐาน Concepts ใน Verbal Reasoning ให้แน่น หรืออยากได้เทคนิคการสอบ GMAT สามารถขอคำปรึกษากับพี่ๆ MTU ได้นะคะ