5 เคล็ดลับ ตอบคำถาม Tell me about yourself (MBA ELEVATOR PITCH)

“TELL ME ABOUT YOURSELF” เป็นคำถามที่มักจะถูกถามจากคนที่เกี่ยวข้องกับขั้นตอนการสมัครโรงเรียนธุรกิจ ตั้งแต่การพูดคุยอย่างไม่เป็นทางการกับนักเรียนหรือศิษย์เก่า ไปจนถึงการสัมภาษณ์การรับเข้าเรียน MBA การเข้าถึงเพื่อสร้าง connections รวบรวมข้อมูลและทำความเข้าใจอย่างลึกซึ้งยิ่งขึ้นเกี่ยวกับเป้าหมายของน้องคือภารกิจที่สำคัญ! การวางตัวให้เป็นที่น่าจดจำ น่ารักและน่าสนใจต่อผู้คนที่น้องตั้งใจจะสร้างความสัมพันธ์นั้น จำเป็นต้องใช้การแนะนำตัวที่มีประสิทธิภาพ

เมื่อนึกถึง MBA ELEVATOR PITCH คือ การเริ่มต้นการสนทนาที่น่าสนใจ กระชับและสื่อถึงตัวตนของน้อง สิ่งที่น้องหลงใหลและอะไรเป็นแรงจูงใจให้น้องอยากเรียนต่อ MBA การ Pitch ที่เกี่ยวกับแรงบันดาลใจของสิ่งที่น้องสนใจและจะต้องเป็นการเปิดบทสนทนาเพิ่มเติมได้ในอนาคต โดยเทียบกับเวลาที่ใช้ในการขึ้นลิฟต์เพียงไม่กี่ชั้น (หรือน้อยกว่า 60 วินาที)

โดยพื้นฐานแล้ว MBA ELEVATOR PITCH คือ การแสดงออกถึงตัวตนของน้อง Curtis Johnson เพื่อนร่วมงานของ Sharon Joyce ใน Fortuna ซึ่งเป็นศิษย์เก่าของ Wharton และผู้สร้างแบรนด์ที่ Walt Disney Company กล่าว “โดยพื้นฐานแล้ว ตัวตนคือสิ่งที่เป็นตัวแทนของน้อง สิ่งที่น้องยืนหยัด สิ่งที่ผู้คนคิดเกี่ยวกับน้อง เมื่อพวกเขาเห็นชื่อของน้อง คุณสมบัติ จุดแข็งและคุณค่าใดบ้างที่ดึงดูดความสนใจของผู้อื่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่อยู่ในฐานะที่จะประเมินผู้สมัครหลักสูตร MBA ในฝันของน้อง

Sharon Joyce ได้เห็นการเสนอขาย (Pitch) มากมายในระยะเวลาสั้นๆ จากอาชีพของเธอในการรับสมัครและกิจการนักเรียนที่ Berkeley Haas และ Carnegie Mellon Tepper ไปจนถึงบทบาทการฝึกสอนของเธอ (Fortuna Admissions) ต่อไปนี้ คือ 5 เคล็ดลับในการพัฒนาการ Pitch พร้อมด้วยตัวอย่างการเสนอขาย (Pitch) เพื่อให้น้องๆ เริ่มต้นได้

5 เคล็ดลับในการสร้างสำนวน MBA Elevator pitch 

1. อธิบายเป้าหมายของน้อง

เพื่อให้เข้าใจถึงมุมมองของ Curtis ข้างต้น การสร้างตัวตน ควรสอดคล้องกันในทุกแง่มุมของการสมัคร ในขณะเดียวกัน สำนวนการ Pitch ของน้องควรตอบสนองต่อบริบทของน้องด้วย เมื่อน้องเริ่มบทสนทนา ให้พูดสิ่งที่น้องหวังว่าจะได้รับจากการสนทนา เป้าหมายของน้องคืออะไร? หวังว่าจะเรียนรู้หรือทำอะไรให้สำเร็จ เมื่อจบแล้วน้องอยากเอาอะไรไปบ้าง? บางทีอาจเป็นข้อมูลเชิงลึกโดยตรงเกี่ยวกับข้อเสนอทางวิชาการหรือ contact ใหม่ๆ จากศิษย์เก่า โดยให้คิดถึงความสอดคล้องและปรับเปลี่ยนได้ตลอดเวลาไม่ใช่เป็นแบบแผน

2. ปรับแต่งให้เหมาะกับผู้ฟังของน้อง

สิ่งสำคัญคือต้องเข้าใจคุณลักษณะสำคัญที่โรงเรียนธุรกิจชั้นนำกำลังมองหา ได้แก่ ความเป็นผู้นำ ความสามารถในการทำงานเป็นทีม การคิดเชิงวิเคราะห์ ความฉลาดทางอารมณ์ การเคารพในมุมมองที่หลากหลาย การเข้าใจอย่างลึกซึ้งถึงสิ่งที่โรงเรียนสนใจจะช่วยให้น้องเชื่อมโยงกับจุดแข็งส่วนตัว ความหลงใหลและเรื่องราวที่ไม่เหมือนใครของน้อง ความถูกต้องเป็นกุญแจสำคัญ ดังนั้นเมื่อน้องดึงความเชื่อมโยงเหล่านี้เข้ากับการ Pitch ของน้อง จงซื่อสัตย์ต่อตัวน้องและสไตล์ของน้องเอง

3. กระชับและน่าสนทนา

ในขณะที่น้องต้องการฝึกฝนการ Pitch ของน้องจนลื่นไหล ให้เน้นน้ำเสียงที่เป็นบทสนทนาและไม่ดูเป็นการซ้อมมากเกินไป ซึ่งหมายถึงความสามารถในการปรับให้เข้ากับสถานการณ์ ให้เกี่ยวข้องกับบริบทและผู้ที่น้องพูดด้วย อย่ากลัวที่จะเติมเรื่องราวเล็กๆ น้อยๆ ที่น่าสนใจหรือข้อคิดเชิงลึกที่อาจใช้เป็นบทสนทนาต่อเนื่อง ตัวอย่างเช่น น้องอาจจะพูดถึงหลักการหนึ่งในสี่ข้อและหลักดังกล่าวเกี่ยวข้องกับน้องอย่างไรเป็นการส่วนตัว หรือถามว่า Dean Harrison สร้างชื่อเสียงให้กับ Berkeley Haas ได้อย่างไร สร้างบทสนทนาที่ดีเกี่ยวกับบรรยากาศและบุคลิกของโรงเรียน

4. ถ่ายทอด ‘การแสดงตัวตนอย่างมืออาชีพ’

ไม่ใช่แค่สิ่งที่น้องพูดเท่านั้น แต่เป็นวิธีการที่น้องนำเสนอตัวเอง น้องต้องจับมือ ( handshake) อย่างหนักแน่น สบตาอย่างแน่วแน่และแสดงทัศนคติเชิงบวกที่บ่งบอกถึงความอยากรู้อยากเห็นเกี่ยวกับการเรียนรู้เพิ่มเติม ในบทความที่ยอดเยี่ยมเรื่อง 3 คุณสมบัติหลักของการแสดงตนแบบมืออาชีพ Brittany Maschal จาก Fortuna อ้างถึงงานวิจัยที่น่าสนใจเกี่ยวกับองค์ประกอบหลัก 3 ประการของการแสดงตน ได้แก่ แรงดึงดูด การสื่อสารและรูปลักษณ์ แม้ว่าคำพูดที่เลือกสรรมาอย่างดีจะมีความสำคัญ แต่ความประทับใจที่น้องทิ้งไว้มักเกี่ยวข้องกับวิธีที่น้องทำให้ผู้อื่นรู้สึกมากกว่าสิ่งที่น้องพูดจริงๆ

5. ปล่อยให้พวกเขาต้องการมากขึ้น

การสมัคร MBA นั้นเต็มไปด้วยคำถามที่สร้างแรงบันดาลใจในการไตร่ตรองที่สำคัญและขายตัวเองของน้องเป็นเพียงองค์ประกอบหนึ่ง เมื่อน้องกลั่นกรองการ Pitch ของน้องให้สั้นกระชับ ให้พิจารณา 3 อันดับแรกหรือมากกว่านั้นที่น้องต้องการสื่อเกี่ยวกับตัวน้องและความทะเยอทะยานของน้องในสถานการณ์ที่กำหนด จำไว้ว่าเป้าหมายของน้องคือการสร้างความประทับใจในเชิงบวกและเปิดประตูสู่การสนทนาเพิ่มเติมโดยสร้างความสนใจ ไม่ใช่เพื่อบอกเล่าเรื่องราวชีวิตของน้องหรือพูดถึงเรื่องความสำเร็จที่น่าประทับใจในอดีต

เมื่อน้องสร้างการ Pitch ที่สมบูรณ์แบบแล้ว ให้ฝึกฝนในทุกโอกาส ทั้งกับเพื่อน เพื่อนร่วมงาน แม้กระทั่งตัวน้องเองในกระจก ขอความคิดเห็นที่ตรงไปตรงมาจากคนที่น้องไว้วางใจ น้องจะต้องรู้สึกมั่นใจและพร้อมที่จะเข้าสู่ทุกสถานการณ์ ตั้งแต่การพูดคุยกับ connections ไปจนถึงการสัมภาษณ์ MBA หรือกระทั่งวันแรกของน้องในมหาวิทยาลัยในฝัน นี่คือตัวอย่างที่จะช่วยให้น้องเริ่มต้นได้


รับเคล็ดลับเรียนต่อฟรี ส่งถึงมือทุกสัปดาห์ 

น้องๆที่จะสมัคร ไปเรียนต่อ MBA หรือ Master’s Degree สายอื่น อย่าพลาด
ปรึกษาฟรี!!!! คลิกเลย FREE CONSULTATION
ฟังเรื่องราวความสำเร็จของนักเรียน MTU คลิกเลย

บทความที่เกี่ยวข้อง

การเตรียมตัวสอบ GMAT GRE และยังต้องทำงานไปด้วย

เตรียมสอบ GMAT 700+ ทำยังไงเมื่อต้องทำงานไปด้วย 10 เทคนิคบริหารจัดการเวลา!! สำหรับคนที่ต้องสอบ GMAT GRE และยังต้องทำงานไปด้วย 1. Steady Plan ตั้งเป้าหมายคะแนน GMAT GRE มีเวลาเตรียมตัวแค่ไหน ลิสต์สิ่งที่ต้องอ่านออกมาแล้ว research ว่าแต่ละข้อสอบ เล่มไหนดัง เล่มไหนดี จะได้มี resource ที่ต้องอ่าน

Read More »

เรียน MBA ที่ Tsinghua Business School

เรียน MBA ที่ Tsinghua Business School อยากเรียน MBA แต่ไม่อยากไปไกลบ้านมาก สำหรับน้องคนไหนที่ไม่ชอบการเดินทางไปไกลๆ พี่ๆ จะมาแนะนำ MBA ใน Top Asia ที่ไม่ไกลจากประเทศไทยมาก มาทำความรู้จักกันเลยค่ะ           มหาวิทยาลัยชิงหวา (Tsinghua

Read More »

EP63: 10 ทักษะของคน GEN Y ในปี 2030

ทักษะสำคัญสำหรับคน Gen Y ที่จะช่วยให้ประสบความสำเร็จในปี 2020-2030 ครูพี่เจส ภัคศิกร ทับทิมทอง อดีต Admissions Committee ที่ Kellogg, Northwestern University และเป็นผู้บริหารบริษัท Mission To Top U TopU Talk The Podcast ·

Read More »
Scroll to Top