จาก Investment Banking สู่ CFO

เสน่ห์ของงาน IB และ CFO คืออะไร? งาน IB แตกต่างจาก CFO ยังไงบ้าง? ฟังพร้อมพี่ปัน Partner ของ Mission To Top U ศิษย์เก่า Kellogg MBA กันเลยครับ

Q1: ก่อนพี่ปันไปเรียนต่อ MBA พี่ปันทำอะไรมาบ้างครับ?

P’Pun: ประสบการณ์ก่อนไปเรียน MBA พี่จบ BBA ปริญญาตรีที่ ธรรมศาสตร์ ในตอนนั้นด้วยสายไฟแนนซ์ เด็กไฟแนนซ์ต้องทำ IB ก็เลยอยู่ Investment Banking ก็ทำอยู่ M&A, Raise-fund ก็ทำอยู่ตรงนั้น 4 ปี ก่อนจะไปเรียน MBA ครับ

Q2: พอเรียนจบกลับมาทำอะไรครับ?

P’Pun: ผมได้ทุนของ Kbank ตอนก่อนไปเรียน ซึ่งสมัครทุนแบบคนนอกเข้าไป พอเรียนจบกลับมาก็เลยมาใช้ทุน จริงๆ แล้ว Kbank ก็มี IB House อยู่ใน Kbank เองนะครับ แต่ตอนนั้นก็อยากลองเปลี่ยนบ้าง ทำ  IB มาแล้ว 4 ปี พอมา Banking รู้สึกว่า ธุรกิจหลักของธนาคาร คือ สินเชื่อ (credit) ก็เลยไปทำงานด้านเครดิตของธนาคารครับ

Q3: เป้าหมายของพี่ปันตอนก่อนไปเรียน MBA คืออะไรครับ? 

P’Pun: ตอนแรกภาพก็ยังไม่ชัดนะครับว่ากลับมาจะมาทำเครดิต พึ่งมาตัดสินใจตอนเรียน MBA และได้พูดคุยกับหลายๆ departments จนได้มาลงตัวที่เป็นฝั่งเครดิตของธนาคาร ฌ ตอนก่อนที่จะไปเรียน MBA คิดว่าจะกลับมาทำในสาย IB เพราะทำงานสายนี้มาแล้วรู้สึกสนุก ได้พบเจอผู้บริหารมากมาย ได้เรียนรู้จากพี่เก่งๆ เยอะมาก รู้สึกว่า IB มันสนุกมากๆ เพราะฉะนั้น Goal ก็จะเกี่ยวกับ IB มากกว่า ตอนที่เขียน Essay ก็เขียนเกี่ยวกับ IB การ raise funds ใหม่ๆในประเทศไทย เพื่อมาซัพพอร์ตบางธุรกิจที่ไม่สามารถซัพพอร์ตธุรกิจตัวเองได้ ตอนนี้จริงๆ ก็ยังอยากกลับมาทำงาน IB อยู่ แต่สถานการณ์เปลี่ยนไป ก็มีการเปลี่ยนเหมือนกัน

Q4: อะไรเป็นเสน่ห์ของงาน IB ที่ไม่เหมือนงานไฟแนนซ์อื่นๆ  ครับ?

P’Pun: ข้อดีคือเห็นภาพกว้างของธุรกิจ พอมาเป็น financial advisor มันได้พบกับธุรกิจที่หลากหลาย มันไม่ซ้ำซากจำเจ เหมือนกับดีล M&A นี้ เราได้เจอกับบริษัทใน industry นี้ พออีกดีลหนึ่งได้เจอกับ industry นึง  มันได้เรียนรู้ แต่ละดีละมีความแตกต่างกัน มี challenges และ conditions ต่างกันเลยรู้สึกว่าข้อดีคือได้เรียนรู้อะไรใหม่ๆตลอดเวลา ตอนทำมา 4 ปีเราได้เรียนรู้ว่าแต่ละดีลไม่เหมือนกันเลย และข้อดีอีกข้อนึงคือตอนที่เราทำ IB เราได้ดีลงานบริษัทใหญ่ คนที่เราได้คุยก็จะเป็นระดับ  Top management ได้คุยกับ CEO, CFO หรือว่า Middle management ที่ร่วมงานกันด้วย รู้สึกว่าเราก็ได้เรียนรู้กับพี่ๆที่ทำงานด้วยเหมือนกัน

Q5: ตอนที่พี่ปันกำลังจะกลับมทำงานที่ Kbank คิดยังไงกับ IB?

P’Pun: จริงๆ IB ก็เป็น หนึ่งในตัวเลือกเหมือนกันครับ แต่คิดว่าเราทำมา 4 ปีแล้ว และตอนนั้นก็มีโอกาสได้คุยกับพี่ที่อยู่หลายๆ สายงาน ตัว Investment Banking เรารู้อยู่แล้วว่างานเป็นยังไง พอเราอยู่ Bank เราเป็นเด็กทุน เราก็อยากเติบโตในธนาคาร IB ก็เป็นเหมือนส่วนนึง แต่ core business คือ สินเชื่อ พอได้มีโอกาสได้เข้ามาทำธนาคาร ก็อยากจะเรียนรู้อะไรใหม่ๆ ก็เลยตัดสินใจเปลี่ยนมาทำสินเชื่อ เพราะรู้สึกว่าอยากลองอะไรใหม่ๆ ซึ่งจริงๆอาจจะเป็น 1 ในคาแรคเตอร์ที่ได้มาจาก MBA เหมือนกัน คือ MBA จะพยายาม encourage ให้คนได้ลอง out of comfort zone ถ้าเลือก IB ก็จะแอบอยู่ใน comfort zone นิดนึง อันนี้ก็จะเหมือนออกจาก comfort zone นิดนึง แต่ก็ยังอยู่ในวงการไฟแนนซ์อยู่ครับ

Q6: พี่ปันเคยอยากไปทำอย่างอื่นนอกจากไฟแนนซ์ไหมครับ?

P’Pun: พี่เป็นคนที่ชอบไฟแนนซ์ ขนาดไปเรียนที่ Kellogg ก็ลงวิชาไฟแนนซ์เยอะมากๆ พี่อาจจะโชคดีที่เจอสิ่งที่เราชอบและทำได้ดีด้วยเลยเป็นการ confirm กับตัวเองด้วยว่าจริงๆ ชอบ Finance เลยคิดว่า เราน่าจะอยู่ในสายไฟแนนซ์ 

Q7: อะไรคือจุดเปลี่ยนจาก IB เป็น CFO ครับ?

P’Pun: เรียกว่าโชคดีดีกว่าครับที่ได้รับโอกาสที่ผู้ใหญ่เขายื่นให้ เขากำลังเอาบริษัทเข้าตลาดหลักทรัพย์ เขาอยู่ในช่วงที่กำลังเติบโตและมีอะไรให้ทำอีกเยอะ ถือว่าเป็นโอกาสอีก step นึงที่ทำให้เราได้ก้าวออกจาก comfort zone อีกแล้ว หลังจากทำ IB  ทำ Bank มาแล้ว คราวนี้มันเหมือนเราได้เอาประสบการณ์ที่ผ่านมามารวบรวม เป็นตำแหน่งที่สูงขึ้น ใน management level ต้องวางนโยบายมองภาพใหญ่ กำหนดทิศทางของบริษัท เป็นโอกาสที่พอได้มา ก็อยากลองเลยออกจาก IB มาอยู่ Corporate ด้วยตำแหน่ง CFO ครับ

Q8: ตอนนี้ CFO ก็เป็นงานที่เราชอบไหมครับ ?

P’Pun: โดยรวมก็ชอบนะครับ แต่ด้วยงานทุกงาน มันก็จะมีมีสิ่งที่ชอบแล้วก็ไม่ชอบ ด้วย role และความรับผิดชอบของงาน มันก็จะมีงานที่เราไม่อยากทำแต่เราก็ต้องทำ กลับบางงานที่เราอยากทำ ชอบและสนุกกันมัน

Q9:สิ่งที่ชอบและไม่ชอบของ IB มีอะไรบ้างครับ?

P’Pun:  สิ่งที่ชอบคือได้เจอคนเก่งๆ ได้เจอ Top management เป็นเด็กจบใหม่แต่ได้เข้าประชุมบอร์ด บริษัทใหญ่ๆ มันตื่นเต้นที่ได้ฟังมุมมองของคนที่ประสบการเยอะ การจะทำดีลใหญ่ๆ สำเร็จ เราก็ได้ซึมซับประสบการณ์ด้วย อย่างที่สองที่ชอบคือ ได้ทำงานอลายอย่าง มันไม่ใช่แค่ financial model มันมีการ presentation, pitching มีการประสานงานต่างๆ รู้สึกว่ามันเป็นสิ่งที่หล่อหลอมให้เราทำงานได้หลากหลายต้องใช้ skills หลายอย่าง สิ่งที่ไม่ชอบคือ  เวลาดีลค่อนข้างสั้น ระยะเวลาทำงานน้อย อาจจะต้องทำงานล่วงเวลา ยิ่งช่วงแรกที่ไม่ค่อยมีประสบการณ์ก็ยิ่งนานไปอีก ไม่ได้นอนเลยก็มีครับ

Q10: ตอนมาเป็น CFO มีมุมที่ชอบมากกว่า IB ไหมครับ?

P’Pun: มีนะครับ พอมาเป็น CFO สกิลที่ใช้ก็จะเป็นอีกแบบนึง พอเราไปทาง coperate มันก็จะมีเรื่อง operation มากขึ้น ตอนเป็น IB จะเน้นทำดีล ทำเป็น concept พอปิดดีลคิดว่าจะมี synergies มันก็คือ assumption, concept ต่างๆ พอเรามาเป็น CFO มันก็คือ หนึ่งในคนที่ต้อง run ธุรกิจ มันก็จะ operation บางอย่างที่เวลาเราออกนโยบายบางอย่างไปจะสามารถทำได้จริงๆ รึเปล่า สำหรับ operation หน้างาน แล้วก็จะมีเรื่องการ manage คน พอเป็นตำแหน่งที่เรียกว่า management เราอาจจะต้อง manage ทีม หรือว่า manage เวลาครับ

Q11: พี่ปันมีอะไรแนะนำให้น้องๆที่อยากเป็น CFO ? จำเป็นต้องทำ IB มาก่อนไหมหรือทำอะไรมาก่อนได้บ้างครับ?

P’Pun: ถามว่าจำเป็นไหม ตอบตรงๆเลยว่าไม่จำเป็น เพราะผมเชื่อว่า background บริษัทในตลาดของ CFO แต่ละคนมีประสบการณ์อะไรมา ไม่ใช่ทุกคนที่ทำ IB บางคนก็โตมาจากสาย operate ก็มี สั่งสมประสบการณ์แล้ว performance เขาก็ดีมาก จนค่อยๆเติบโตจากบริษัทในองค์กร หรือบางคนอาจจะมาจาก banking หรือฝั่งบัญชีเลยก็ได้ครับ แล้วพัฒนา skill ขึ้นมาจนเป็น CFO ที่ดูแลทั้ง finance ทั้ง account ดังนั้นไม่จำเป็นเลยครับ สุดท้ายแล้วมันขึ้นอยู่กับ skill set ที่เรามีมากกว่า พอเป็น IB มาก่อนมันก็ develop skills set นึง ถามว่าเอามาใช้ตรงๆก็ตอน เป็น CFO มั้ย มันก็ไม่ได้เชิงตรงขนาดนั้น มันเป็นการนำมา apply ใช้มากกว่า ซึ่งการที่เรามี skill set เหล่านี้ ไม่จำเป็นต้องมาจากทางเดียวกัน จริงๆอาจจะไม่ต้องมาจากสาย finance เลยก็ยังได้ เพราะเดี๋ยวนี้ความรู้มันสามารถเรียนรู้กันได้ แต่ถ้าเรามี skill set ที่ใช่ แต่ละองค์กรเขาก็อาจจะต้องการ CFO คนละประเภทกัน องค์กรที่กำลังจะเข้าตลาดก็อาจจะต้องการ CFO ที่มาวางระบบให้มัดกุม วางระบบบัญชี บางบริษัทที่กำลังโตหรือมั่นคงแล้วอาจจะต้องการ  CFO อีกแบบนึง แต่บริษัทก็จะมี character ที่แตกต่างกัน สิ่งสำคัญคือการพัฒนา skill set กับ mindset มากกว่าให้ตอบโจทย์สิ่งที่บริษัทต้องการครับ 

Q12: พี่ปันคิดว่าอะไรยังเป็นเสน่ห์ของงาน Finance ครับ?

P’Pun: จริงๆ คิดว่าเราต้องถามตัวเองว่าเราชอบอะไร เพราะ Finance ค่อนข้างกว้างมาก ใครเป็นสายชอบลงทุนก็อาจจะไปเป็น finance manager/ investment สาย corporate ก็มีหลาย role อีก เช่น cash flow, DD หรือ corporate finance ดูภาพรวมบริษัทก็มีหลายฟังก์ชั่น หรือจะไป BC, PE, IB ก็มี สำหรับน้องที่เรียนจบใหม่ ถ้ารู้ว่าตัวเองชอบอะไรหรือไม่มั่นใจ “อยากให้ลอง” เพราะไม่มีใครสามารถตอบเราได้ดีเท่าเราได้ไปทำจริงๆ พี่เชื่อว่าการที่เราได้ไปทำได้ไปเรียนรู้และตั้งใจทำสิ่งหนึ่ง  มันไม่น่าจะมีคำว่าเสียเวลา มันก็จะเป็นการเก็บประสบการณ์ อย่างตอนที่พี่เป็น relationship manager ดูภาพรวมระหว่าง bank กับลูกค้า นอกจากเครดิตแล้วก็ต้องดูพวก product อื่นๆ ซึ่งบาง product เรารู้สึกว่าไม่ชอบ ไม่น่านำความรู้ตรงนี้ไปใช้ได้ ปรากฎว่ามันเป็นความรู้ที่ตอนเราเป็น CFO เรากลับได้ใช้ และก็เป็นสิ่งเรา contribute ให้บริษัทได้อย่างเร็วเพราะเรามีประสบการณ์ ดังนั้นเราไม่มีทางรู้ว่าสิ่งที่เรามีอยู่มันจะช่วยต่อยอดอะไรในอนาคต ยิ่งตอนนี้บริษัทต่างๆ Tech/ Startup ค่อนข้างที่จะเปิดให้ไปฝึกงานเยอะมากเลย พี่คิดว่าเป็นโอกาสดีมากเลยที่ใน 3 เดือนที่น้องๆจะได้เข้าไปเรียนรู้องค์กรนั้น ได้ไปรู้จักว่างานจริงๆเขาทำอะไร ได้เรียนรู้จากคนในวงการน่าจะให้คำตอบที่ดีที่สุด


รับเคล็ดลับเรียนต่อฟรี ส่งถึงมือทุกสัปดาห์ 

น้องๆที่จะสมัคร ไปเรียนต่อ MBA หรือ Master’s Degree สายอื่น อย่าพลาด
ปรึกษาฟรี!!!! คลิกเลย FREE CONSULTATION
ฟังเรื่องราวความสำเร็จของนักเรียน MTU คลิกเลย

บทความที่เกี่ยวข้อง

เปรียบเทียบ MBA vs MS in Business Analytics

เปรียบเทียบ MBA vs MS in Business Analytics โปรแกรม MBA เรียนพื้นฐานของธุรกิจทั้งหมด เช่น Foundation Business skills, Management skills, Marketing, Finance, Accounting และมีเรื่องของ Social skills, Networking skills เป็นทักษะที่เรียกว่าเป็น

Read More »

สมัคร MBA ไป Top-U เค้าใช้เกณฑ์อะไรในการคิดคะแนนบ้างนะ?

พี่ๆ จะมาแชร์เกี่ยวกับเกณฑ์การให้คะแนนของ B-schools จาก Top-U มาให้ลองพิจารณากันดูค่ะ ว่าน้องๆ ควรจะให้ความสำคัญกับส่วนไหนบ้าง มาดูกันเลยค่ะ จากแผนภูมิจะเห็นได้ว่า คะแนน ‘GMAT’ ยังคงเป็นส่วนที่ Top-U ให้น้ำหนักมากที่สุด น้องๆ จึงควรทำคะแนนให้อยู่ในค่าเฉลี่ยของ Top-U ที่อยากเข้าจะดีที่สุดค่ะ แต่ต้องระวังอย่าโฟกัสที่คะแนน GMAT เพียงอย่างเดียวนะคะ เพราะอีก 2 ส่วนที่จะพูดถึงต่อจากนี้ก็มีความสำคัญไม่แพ้กันเลยค่ะ ส่วนต่อมาคือการเตรียม

Read More »

EP130: ความสุขโดยสังเกต #BookReview

#แชร์หนังสือ ความสุขโดยสังเกต – นิ้วกลม ชวนตอบคำถาม “อะไรทำให้เรามีความสุข” ครูพี่เจส ภัคศิกร ทับทิมทอง อดีต Admissions Committee ที่ Kellogg, Northwestern University และเป็นผู้บริหารบริษัท Mission To Top U TopU Talk The Podcast

Read More »
Scroll to Top