9 Essay Mistakes (Part 2)

9 ข้อผิดพลาดที่ไม่ควรทำใน Essay (Part 2)

5. ไม่ใช้ Action Verbs ใช้ verb ที่ดู passive
เวลาโชว์ทักษะของตัวเอง พี่แนะนำให้ใช้ structure แบบนี้ค่ะ “Subject + I + Verb + Task” บอกให้เห็นชัดเจนว่าเราทำอะไร และใช้ action verb ที่สามารถ โชว์ทักษะได้ชัดเจน เช่น Lead, Created, Conducted, Initiated, Analyze ทำให้เห็น task ของเราชัดเจน หรือคนที่จะสมัคร MBA อย่าลืม! ต้องมี Leadership เราบอกได้ว่า “I led a team of 5 people to conducted….”

*สิ่งที่ไม่ควรทำคือ เวลาใช้ action verb หลายคนมักใช้คำว่า Provide, Assist, Help แต่เวลาอยู่ใน application น้องๆอย่าลืมว่าเราจะต้องเป็น hero ใน essay ของเราเอง ดังนั้น เราต้องกล้าที่จะใช้ action verb และโฟกัสที่ตัวเราค่ะ

6. เขียนคำบรรยายที่เป็น description เยอะเกินไป
สมมุติเราทำงานที่ Tesco Lotus ได้ทำงานที่ทำให้เรามีความเข้าใจในการ Sourcing Product ตั้งแต่ต้นจนจบใน supermarket เรามีหน้าที่รับผิดชอบอะไรบ้าง
ตั้งแต่คุยกับลูกค้า ทำอะไรบ้าง แบบนี้ยังมองว่าเป็น description อยู่นะคะ แต่จะดีกว่ามั้ย ถ้าเราเขียน action ไปเลยว่าเราทำอะไร

เช่น ปีนี้เราได้ทำโปรเจค A ต้องไปคุย Sourcing product ที่เวียดนามแล้วเอามาขายในเมืองไทย หรือนำ product จากเมืองไทยไปขายที่สิงคโปร์
แบบนี้จะเห็นความสามารถของน้องชัดเจนดีกว่าค่ะ

7. เขียนคำเกิน
มหาวิทยาลัยหลายๆที่มีจำนวนคำให้จำกัด ยกตัวอย่าง essay ของ Harvard เมื่อก่อนเค้าจะบอกเลยให้เขียน 1,000 คำ แต่ปัจจุบันไม่ได้มีจำกัดจำนวนคำแล้ว
แต่ส่วนใหญ่เราจะเขียนกันไม่เกิน 2 หน้าหรือประมาณ 800 – 1,000 คำค่ะ

ที่ Wharton เขียนได้ไม่เกิน 500 คำ ซึ่งตรงนี้เวลาเราเขียนเกิน หลายๆมหาวิทยาลัยเค้าไม่ได้วัดชัดเจน แต่เค้าจะดูว่าเราเขียนกระชับหรือเปล่า สมมุติเค้าให้เขียน 500 คำ เราเขียน 550 หรือ 600 คำ แต่เพื่อนคนอื่นเขียน 500 คำ หมายความว่าเค้าไม่ถึงกับตัดสิทธิ์เราไปเลย แต่เค้าจะดูว่าสิ่งที่เขียนมา เราสามารถสะท้อนเห็นตัวเองได้มั้ย

การที่คนเขียน 500 คำ แต่ละคำมันต้องมี impactful จริงๆ เวลาเราตัดคำ มันก็จะเหลือแต่คำที่เป็น action verb สิ่งที่โชว์ story อะไรที่เป็น description เราก็จะตัดออกไป

8. ใช้คำที่เป็นคำเฉพาะเจาะจง หรือคำที่เป็น jargon
คนที่อ่าน application หรือ essay บางคนเป็น professor ก็อาจจะเข้าใจในเนื้อหาของเรา แต่ Admissions Team บางคน ไม่ได้เป็น professor เค้าเป็น Admissions Staff ที่ไม่ได้มาจากสาย Business หรือ Computer Science

คำ jargon แบ่งเป็น 2 ส่วน

  • คำศัพท์เฉพาะที่เกี่ยวกับธุรกิจ
  • คำเฉพาะบางประเทศหรือเป็น context ของประเทศไทยก็ได้

ยกตัวอย่าง ในเมืองไทยชอบใช้ E-Commerce ก็จะมี Lazada, Shopee แต่อย่าลืมนะคะว่าบริษัทเหล่านี้ ถ้าอยู่ในสายตา Admissions ที่ยุโรป อังกฤษ หรือจีนเอง เค้าอาจจะไม่รู้จัก สิ่งที่เค้ารู้จักในประเทศเค้าคือ Amazon ถ้าเป็น Social Media ก็จะรู้จัก Facebook, Google  เราต้องเขียนให้เค้าเข้าใจ
เป็นคำอธิบายสั้นๆประมาณ 3-4 คำ ให้เค้าเห็นว่าหน้าที่ของเราตรงนี้หมายความว่ายังไง

แล้วเวลาใช้คำศัพท์เฉพาะ มันจะทำให้เค้ามีมุมมองที่ว่าอ่าน essay ของเราไม่รู้เรื่อง เป็นคนที่สื่อสารยาก เพราะใช้แต่ศัพท์เทคนิค ถ้าคุยกับเพื่อนร่วมคลาสแล้วอยู่คนละสายงานกันจะคุยกันรู้เรื่องหรือเปล่า ทำให้เค้าอาจลดคะแนนในส่วนของ Communications skill ของเราได้

9. ไม่มีสรุปปิดให้ชัดเจน
เค้ามีสถิติมาแล้วว่าเวลาคนไปดูหนัง สิ่งที่คนจำจากหนังได้ 2 ชั่วโมง มี 2 ส่วนด้วยกัน

  • ส่วนแรก คือ ส่วนที่พีคที่สุดหรือส่วนที่ประทับใจที่สุด
  • ส่วนสอง ตอนจบ

เค้าเลยเรียกว่า “ทฤษฎี Peak-End Theory ส่วนแรกที่เป็นส่วนพีคของแต่ละคนไม่เหมือนกัน แต่ที่เหมือนกันแน่นอนเลยคือตอนจบ

ดังนั้น เหมือนกับตอนที่อ่าน essay เลยค่ะ เวลา Admissions Team อ่าน essay ของหลายๆคน
เป็นปกติมากที่จะเบลอหรือจำไม่ได้บ้าง ดังนั้นตอนที่เราเขียนสรุป อย่าลืมเขียนจุดเด่น จุดไฮไลท์ของเราด้วย

ใน paragraph สุดท้ายจะต้องเป็นการสรุปใจความข้างบนด้วยตัวเอง ไม่ได้มีการ introduce ใจความใหม่น้องๆลองนำเทคนิคนี้ไปใช้ใน Essay หรือ Personal Statement กันดูนะคะ


รับเคล็ดลับเรียนต่อฟรี ส่งถึงมือทุกสัปดาห์ 

น้องๆที่จะสมัคร ไปเรียนต่อ MBA หรือ Master’s Degree สายอื่น อย่าพลาด
ปรึกษาฟรี!!!! คลิกเลย FREE CONSULTATION
ฟังเรื่องราวความสำเร็จของนักเรียน MTU คลิกเลย

บทความที่เกี่ยวข้อง

EP90: Q&A ตอบคำถามวันที่ 5 พ.ค. 2563

ตอบคำถามที่ผู้ฟังถามเข้ามาประจำวันที่ 5 พฤษภาคม 2563 ครูพี่เจส ภัคศิกร ทับทิมทอง อดีต Admissions Committee ที่ Kellogg, Northwestern University และเป็นผู้บริหารบริษัท Mission To Top U TopU Talk The Podcast · KruPJess.EP90:

Read More »

EP109: ชวนฝึกเทคนิค Frame-Storming สร้าง Creative idea

“คิดว่าตัวเองไม่ Creative” “คิดไอเดียใหม่ๆไม่ออก”… ไม่เป็นไร! เพราะ Creativity เป็นทักษะ หมายความว่า เราสามารถฝึกฝนพัฒนาได้ Frame-storming คือ การรวมวิธี Reframing + Brainstorming เพื่อให้เราเพิ่มโอกาสสร้าง Creative ideas และ Innovation  แชร์ 3 เทคนิค Reframing จาก

Read More »

EP110: ออกแบบชีวิตตามคลาส Designing your life ที่ Stanford

ใช้ระบบ Design Thinking มาออกแบบชีวิต แชร์กิจกรรม Odyssey Plan วางแผนชีวิต 5 ปีข้างหน้า 3 แบบ Odyssey Plan #1: เราจะใช้ชีวิตปัจจุบันยังไง ? Odyssey Plan #2: ถ้างานปัจจุบันหายไป เราจะใช้ชีวิตยังไง ? Odyssey Plan

Read More »
Scroll to Top